
เราสามารถทำ พ.ร.บ. ซ้ำซ้อนกันมากกว่า 1 ฉบับได้หรือไม่?
เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ทำให้มีการซื้อ พ.ร.บ.คุ้มครองซ้ำซ้อนกัน อาจเนื่องมาจากเดือนที่ต้องเสียภาษีรถประจำปี ไม่ตรงกับเดือนที่ต้องต่อ พ.ร.บ. ทำให้เกิดการซื้อ พ.ร.บ.ซ้ำซ้อนกันมากกว่า 1 ฉบับ หรืออาจมาจากสาเหตุอื่นใดก็ตามแต่…
ในกรณีนี้ พ.ร.บ.ที่ซื้อฉบับแรกจะเป็นโมฆียะหรือไม่? หรือ หากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นจะเคลมอย่างไร?
การทำ พ.ร.บ. ซ้อน พ.ร.บ.ทำได้ ไม่ผิด… เมื่อเกิดเหตุจากรถครั้งใดต้องเบิกค่ารักษาพยาบาลจากฉบับแรกที่ซื้อก่อนแล้วจึงไปเบิกกับฉบับที่สองหรือฉบับถัดไปได้ ในกรณีเสียชีวิตสามารถเบิก พ.ร.บ.ได้จากทั้งสองฉบับ
แต่หากไม่ต้องการความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ฉบับใดฉบับหนึ่ง ฉบับนั้นต้องไม่เคยยื่นแนบต่อภาษีประจำปี ซึ่งสามารถทำเรื่องขอยกเลิกกรมธรรม์ได้ เพียงโทรไปคอลเซ็นเตอร์ของบริษัทพ.ร.บ.ที่คุุ้มครอง แจ้งว่า “ขอบอกเลิกกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถป้ายทะเบียน XX-XXXX” พนักงานก็จะถามชื่อผู้เอาประกันและให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมทางอีเมล์ คือ สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาหน้าบัญชีธนาคารที่จะให้โอนเงินคืน เพียงเท่านี้ เงินค่าเวนคืนกรรมธรรม์ก็จะเข้าบัญชี ไม่เกิน 15 วัน หรืออาจแล้วแต่บริษัทไหนคืนช้าคืนเร็วต้องสอบถามบริษัทนั้นๆอีกครั้ง
ส่วนเงินเวนคืนจะได้มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้ พ.ร.บ.ไปแล้วกี่วัน บริษัทนั้นๆจะคืนให้ตามที่เหลือจากการคุ้มครอง หรือเรียกว่าวิธีการคำนวณว่า Short Term
ดังนั้น เพื่อป้องกันการสับสน เมื่อต่อ พ.ร.บ.ครั้งใด อย่าลืมแจ้งให้ผู้รับประกันภัยเพิ่มวันสิ้นสุดความคุ้มครอง ไปพร้อมๆกับภาษีรถ ซึ่งอาจเพิ่มเงินอีกเล็กน้อย แต่สามารถช่วยให้สบายใจได้มากขึ้นกว่าเดิม